Law of computer

บทความเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์
สาระหน้ารู้เกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และกฎหมายลิขสิทธิ์


ลิขสิทธิ์คืออะไร  : ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิชสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น

งานอันมีลิขสิทธิ์  : งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิชสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่าภาพ รวมถึงงานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดีวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ : สิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ : ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตน ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และคุ้มครองต่อไปนี้อีก 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค : การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า ทางวรรณกรรมและศิลปกรรมออกสู่ตลาดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ




กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในเบื้องต้น
        
         การพัฒนากฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในเบื้องต้นนั้น พัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงลักษณะการกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ซึ่งอาจสรุปความผิดสำคัญได้ 3 ฐานความผิด คือ- การเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจ (Unauthorised Access)
- การใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ (Computer Misuse)
- ความผิดเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime)  ทั้งนี้ ความผิดแต่ละฐานที่กำหนดขึ้นดังที่สรุปไว้ข้างต้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ความ
คุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ความผิดฐานเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจหรือโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบการกระทำความผิดด้วยการเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจหรือโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ ถือเป็นการกระทำที่คุกคามหรือเป็นภัยต่อความปลอดภัย (Security) ของระบบคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูล
เมื่อระบบไม่มีความปลอดภัยก็จะส่งผลกระทบต่อความครบถ้วน (Integrity) การรักษาความลับ (Confidential) และเสถียรภาพในการใช้งาน (Availability) ของระบบข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์
(1) การเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจ การฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ อาจเกิดได้หลายวิธี เช่น การเจาะระบบ (Hacking or Cracking) หรือการบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ (Computer Trespass) เพื่อทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล หรือเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้เป็นความลับ เช่น รหัสลับ (Passwords) หรือความลับทางการค้า (Secret Trade) เป็นต้น

          ทั้งนี้ ยังอาจเป็นที่มาของการกระทำผิดฐานอื่นๆต่อไป เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฉ้อโกงหรือปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องเป็นมูลค่ามหาศาลได้

           คำว่า 
"การเข้าถึง (Access)" ในที่นี้ หมายความถึง การเข้าถึงทั้งในระดับกายภาพ เช่น ผู้กระทำความผิดกระทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายความรวมถึง การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งแม้บุคคลที่เข้าถึงจะอยู่ห่างโดยระยะทางกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถเจาะเข้าไปในระบบที่ตนต้องการได้

          "การเข้าถึง" ในที่นี้จะหมายถึง การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ดังนั้น จึงอาจหมายถึง การเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบเพื่อใช้ในการส่งหรือโอนถึงอีกบุคคลหนึ่ง เช่น ข้อมูลจราจร เป็นต้น

           นอกจากนี้ "การเข้าถึง" ยังหมายถึงการเข้าถึงโดยผ่านทางเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เนต อันเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกัน และยังหมายถึง การเข้าถึงโดยผ่านระบบเครือข่ายเดียวกันด้วยก็ได้ เช่น ระบบ LAN (Local Area Network) อันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกันเข้าด้วยกัน

           สำหรับมาตราดังกล่าวนี้ กำหนดให้การเข้าถึงโดยมิชอบเป็นความผิด แม้ว่าผู้กระทำจะมิได้มีมูลเหตุจูงใจเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายก็ตาม ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าการกระทำดังกล่าวนั้นสามารถก่อให้เกิดการกระทำผิดฐานอื่นหรือฐานที่ใกล้เคียงค่อนข้างง่ายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง อีกทั้งการพิสูจน์มูลเหตุจูงใจกระทำได้ค่อนข้างยาก
(2) การลักลอบดักข้อมูล           มาตรานี้บัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับการลักลอบดักข้อมูลโดยฝ่าฝืนกฎหมาย (Illegal Interception) เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร (The Right of Privacy of Data Communication) ในทำนองเดียวกับการติดต่อสื่อสารรูปแบบเดิมที่ห้ามดักฟังโทรศัพท์หรือแอบบันทึกเทปลับ เป็นต้น           "การลักลอบดักข้อมูล" หมายถึง การลักลอบดักข้อมูลโดยวิธีการทางเทคนิค (Technical Means) เพื่อลักลอบดักฟัง ตรวจสอบหรือติดตามเนื้อหาสาระของข่าวสารที่สื่อสารถึงกันระหว่างบุคคล หรือกรณีเป็นการกระทำอันเป็นการล่อลวงหรือจัดหาข้อมูลดังกล่าวให้กับบุคคลอื่น รวมทั้งการแอบบันทึกข้อมูลที่สื่อสารถึงกันด้วย

           ทั้งนี้ วิธีการทางเทคนิคยังหมายถึง อุปกรณ์ที่มีสายเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย และหมายรวมถึงอุปกรณ์ประเภทไร้สาย เช่น การติดต่อผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

           อย่างไรก็ดี การกระทำที่เป็นความผิดฐานลักลอบดักข้อมูลนั้น ข้อมูลที่ส่งต้องมิใช่ข้อมูลที่ส่งและเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ได้ (Non-Public Transmissions)
การกระทำความผิดฐานนี้จึงจำกัดเฉพาะแต่เพียงวิธีการส่งที่ผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลนั้นให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ดังนั้น มาตรานี้จึงมิได้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลที่ส่งด้วยแต่อย่างใด
(3) ความผิดฐานรบกวนระบบ            ความผิดดังกล่าวนี้คือ การรบกวนทั้งระบบข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ (Data and System Interference) โดยมุ่งลงโทษผู้กระทำความผิดที่จงใจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งคุ้มครอง ความครบถ้วนของข้อมูล และเสถียรภาพในการใช้งานหรือการใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกไว้บนสื่อคอมพิวเตอร์ได้เป็นปกติ

            ตัวอย่างของการกระทำความผิดฐานดังกล่าวนี้ ได้แก่ การป้อนข้อมูลที่มีไวรัสทำลายข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการป้อนโปรแกรม Trojan Horse เข้าไปในระบบเพื่อขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับเพื่อใช้ลบ เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลหรือกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนข้อมูลและระบบ หรือการป้อนโปรแกรมที่ทำให้ระบบปฏิเสธการทำงาน (Daniel of Service) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก หรือการทำให้ระบบทำงานช้าลง เป็นต้น
(4) การใช้อุปกรณืในทางมิชอบ            มาตรานี้จะแตกต่างจากมาตราก่อนๆ เนื่องจากเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการผลิต แจก
จ่าย จำหน่าย หรือครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เช่น อุปกรณ์สำหรับเจาะระบบ (Hacker Tools) รวมถึงรหัสผ่านคอมพิวเตอร์ รหัสการเข้าถึง หรือข้อมูลอื่นในลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย

            แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึง อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อปกป้องระบบหรือทดสอบระบบ แต่การจะนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ได้ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีอำนาจหรือได้รับอนุญาตให้กระทำได้เท่านั้น

            สำหรับการแจกจ่ายนั้น ให้รวมถึงการส่งข้อมูลที่ได้รับเพื่อให้ผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง (Forward) หรือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน (Hyperlinks) ด้วย  สำหรับเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย เราก็คงจะว่ากันอย่างคร่าวๆเพียงเท่านี้ เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจด้วย เพราะว่ากฎหมายไอทีนั้น มีอยู่มากมายหลายชนิด ต้องแบ่งๆกันไป



 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

             กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครอง ป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศีลธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิด และสติปัญญาของตน นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือ เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงกายและสติปัญญา ของตน ก็ย่อมจะเกิดกำลังใจที่จะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานให้แพร่หลายออกไปมากขิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาของคนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

            ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจัดให้เป็นผลงานทางวรรณการประเภทหนึ่ง

             งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

              แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องลิขสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ความตระหนัก รู้ถึงความสำคัญขงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ยั่งยืนกว่าการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ



การละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง : คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชน รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม :  คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้ว ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร


บทกำหนดโทษ

การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง :  มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม : มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก จะต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

กรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

ค่าปรับที่ได้มีการชำระตามคำพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าวไรก็ดีการได้รับค่าปรับดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้วนั้น



ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการละเมิดลิขสิทธิ์

              การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากความเสี่ยงทางด้านกฎหมายที่ท่านอาจได้รับแล้ว ธุรกิจของท่านยังสูญเสียชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ซึ่งทำให้สูญเสียรายได้และดำเนินธุรกินได้ยากขึ้น  นอกจากนี้ ท่านยังต้องเสี่ยงกับการใช้ซอฟต์แวร์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับข้อมูลทางการค้ามีค่าของท่าน ไม่ได้รับการสนับสนุน ด้านเทคนิค และข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อท่านและธุรกิจของท่าน  การสนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นส่วนหนึ่งที่หยุดยั้งการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ไอทีซึ่งเป็น อุตสาหกรรมที่มีนาคต อันจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศไทย และมีการพัฒนาความรู้ด้านไอทีให้กับบุคลากรของประเทศ ทำให้สามารถแข่งขันได้ในโลกการค้าโลกาภิวัตน์



มูลค่าการละเมิดลิขสิทธิ์

              ในปี 2542 สถิติการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย มีอัตราสูงถึงร้อยละ 81 ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สูญเสียรายได้มากกว่า 3,200 ล้านบาท ความสูญเสีย ดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยอีกด้วย การละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ เป็นอุปสรรค ที่บั่นทอนการพัฒนาวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆในภูมิภาค การลดอัตรา การจ้างงาน การพัฒนาบุคลากร การลงทุน และทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากการเก็บภาษีอันจะ นำมาพัฒนาประเทศได้อีกด้วย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยใช้ความสามารถในการคิดค้น และเพิ่มศักย์ภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพของประชาชน บุคลากรรุ่นใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามาสู่ตลาดแรงงานจะมีภาคธุรกิจรองรับ หากแต่การละเมิดลิขสิทธิ์เป้นปัญหาสำคัญที่ทำให้ความเจริญเติบโตเหล่านี้หยุดยั้งไป เนื่องจากธุรกิจที่ซื่อสัตย์ไม่สามารถแข่งขันได้ และขาดกำลังใจในการพัฒนาธุรกิจของตน



การกระทำที่ถูกกฎหมายทำได้อย่างไร

        ซื้อลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ที่ท่านใช้งานอยู่ ทุกซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานต้องมีลิขสิทธิ์เสมอ

ติดตั้งและใช้งานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 1 ชุดในคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
อย่าทำสำเนาโปรแกรมเพื่อการสำรองมากกว่า 1 สำเนา
อย่าให้ผู้ใดขอยืมซอฟต์แวร์ของท่านไปติดตั้ง


ทราบได้อย่างไรว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้มีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่

             เมื่อท่านซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งาน ท่านควรได้รับใบอนุญาตการใช้งานซึ่งระบุสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ท่านใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ รวมทั้งระบุขอบข่ายของการใช้งานอีกด้วย เช่น ซอฟต์แวร์บางประเภทอาจอนุญาตให้ท่านใช้งานสำเนาที่สองสำหรับการทำงานที่บ้านได้ท่านควรอ่านเอกสาร เหล่านี้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานในการมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องเสมอ

ข้อสังเกตของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

ซอฟต์แวร์ราคาถูกจนไม่น่าเชื่อ
โปรแกรมนั้นอยู่ในแผ่น CD-ROM ที่บรรจะซอฟต์แวร์หลายชนิดซึ่งมักเป็นผลงานจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายบริษัท
ซอฟต์แวร์จำหน่ายโดยบรรจุในกล่องพลาสติกใสโดยไม่มีกล่องบรรจุภัณฑ์
ไม่มีเอกสารอนุญาตการใช้งาน หรือคู่มือการใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น